top of page

Reconstruction of vectorcardiogram from standard 12-lead electrocardiogram using convolutional neural network

การสร้างเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 ลีดมาตราฐานด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ



นิสิตผู้ทำวิจัย:

อาจารย์ที่ปรึกษา:

ธนวันต์ เตียวัฒนรัฐติกาล

ผศ.ดร. อภิวัฒน์ เล็กอุทัย
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสร้างเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 ลีดมาตราฐานด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ


แนวคิด เหตุผล หรือสมมติฐาน

เวกเตอร์คาร์ดิโอแกรม (vectorcardiogram) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงผลกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจด้วยการแสดงเวกเตอร์หัวใจในปริภูมิสามมิติ ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์โรคทางหัวใจในเชิงลึกได้ดีกว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตรฐาน (standard 12-lead electrocardiogram) อย่างไรก็ตาม การวัดเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมจะต้องใช้ระบบลีดแบบแฟรงค์ (Frank’s orthogonal lead) ซึ่งมีตำแหน่งการติดขั้วไฟฟ้าที่ต่างจากระบบ 12 ลีดมาตราฐาน ทำให้การวัดเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมต้องใช้อุปกรณ์วัดที่แตกต่างออกไป จากการวัดคลื่นหัวใจแบบปกติ เป็นผลให้การใช้เวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมในทางปฏิบัติไม่เป็นที่นิยมเท่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีดมาตราฐาน

งานวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการสร้างเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 ลีดมาตราฐาน โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ (convolutional neural network) ที่สามารถสกัดข้อมูลเชิงเวลาจากสัญญาณตั้งต้น เพื่อมาใช้ในกระบวนการสร้างสัญญาณเวกเตอร์คาร์ดิโอแกรมใหม่ได้


ผลงานตีพิมพ์
  • T. Tearwattanarattikal and A. Lek-uthai, “Comparison of Baseline Wander Correction Methods for Handheld ECG with Motion Artefacts,” in 2022 37th International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC). IEEE, 2022, pp.1–4, doi: 10.1109/ITC-CSCC55581.2022.9894859

  • T. Tearwattanarattikal and A. Lek-uthai, “Vectorcardiographic Reconstruction from Standard 12-lead Electrocardiogram using Convolutional Neural Network,” in 2023 38th International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC). IEEE, 2023, pp. 1–4, doi: 10.1109/ITC-CSCC58803.2023.10212536

bottom of page