งานวิจัย
Tissue Engineering
and
Drug Delivery System
วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา
การปรับปรุงหรือทดแทนการทำงานทางชีวภาพโดยการประยุกต์ใช้เซลล์,วัสดุ และปัจจัยทางชีวเคมี โดยวิศวกรรมเนื้อเยื่อมีความพยายามที่จะใช้การผลิตเนื้อเยื่อเพื่อทำการทดแทนจุดที่สึกหรอหรือเสื่อมสมรรถภาพนอกจากนี้วิศวกรรมเนื้อเยื่อยังมีบทบาทในการทดสอบวิธีการรักษาและยา ในขณะเดียวกันการศึกษาระบบนำส่งยานั้นจะสามารถทำให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพเยอะขึ้นในขณะที่ทำให้ปริมาณยาที่ใช้น้อยลงและลดผลข้างเคียงที่มีต่อคนไข้
มีเป้าหมายในการวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้วัสดุที่มีความเข้ากันทางชีวภาพในทางการแพทย์และเภสัชกรรม
กลุ่มงานวิจัย
Biosensors
and
Medical Instrumentation
ไบโอเซนเซอร์และอุปกรณ์ชีวเวช
การศึกษาวิจัยด้านการออกแบบและผลิตเครื่องมือหรือระบบที่ใช้หลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เพื่อวัดและติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางสรีรวิทยา โดยเครื่องมือหรือระบบเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการรักษาดูแลอาการเฉพาะ, การเพิ่มมาตราฐานในการดูแลผู้ป่วยและจะทำให้บุคคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น เป้าหมายหลักของภาคคือการสร้างเครื่องมือที่ผลิตในประเทศและมีต้นทุนต่ำในขณะที่ยังมีความสามารถพอที่จะแข่งขันในท้องตลาดได้
Biomechanics
ชีวกลศาสตร์
การศึกษาการทำงานของร่างกายทั้งในเชิงสถิตยศาสตร์และพลศาสตร์ของไหล โดยหลักการใช้งานจะเป็นการผนวกหลักการทางชีววิทยา,กลศาสตร์และฟิสิกส์เพื่อสร้างความเข้าใจในกลไกของร่างกายของมนุษย์และสัตว์เวลาเคลื่อนไหวและอิริยาบถในชีวิตประจำวัน
โดยมุ่งเน้นทางการออกแบบเครื่องมือ 2 ชนิด เครื่องมือชนิดแรกคือ ข้อต่อเทียม เช่น ข้อต่อเทียมแบบพหุศูนย์ในลูกสะบ้า, เท้า, นิ้ว และมือ อีกรูปแบบคือการออกแบบอวัยวะเทียมเช่น สะโพกเทียม, เข่าเทียมและอุปกรณ์รองรับกระดูกสันหลัง
Bioinformatics
ชีวสารสนเทศ
เป็นศาสตร์ที่เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยา,วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์,คณิตศาสตร์และการวิเคราห์ทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ เพื่อการแปรผลและจัดการข้อมูลทางการแพทย์ปริมาณมากด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ เช่นลักษณะโปรตีนและลักษณะยีนส์ ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในความเกี่ยวข้องกันของปัจจัยในการเกิดโรค เช่น อาการโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยีนส์
Medical Imaging
การสร้างภาพทางการแพทย์
พัฒนาเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ทั้งในเชิงกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกาย โดยภาพเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลที่มีค่าในการวินิจฉัยและรักษา เสริมสร้างความเข้าใจและการประเมินโรงของเหล่าบุคคลากรทางการแพทย์โดยใช้วิธีการที่มีความอันตรายต่ำต่อร่างกายผู้เข้ารับการรักษา
จุดมุ่งเน้นในการวิจัยคือการกู้ภาพ, เพิ่มความชัดเจน, การสร้างแบบจำลองและการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากรูปถ่ายทางการแพทย์